วิธีเลือกไพลินอย่างโปร

วิธีเลือกไพลินอย่างโปร


Blue Sapphire_3


วันนี้นะครับพบกับผมนะครับนายเจมส์แบงค์ BKK นะครับวันนี้เราจะมาพูดกันถึงเรื่องวิธีการเลือกซื้อพลอยไพลินหรือที่เราเรียกกันว่าพลอยน้ำเงินหรือ Blue Sapphire นะครับก่อนอื่นนะครับผมจะพูดถึงประวัติพลอยน้ำเงินในเมืองไทยสักเล็กน้อยเมื่อก่อนนะครับบ้านเราไม่ได้เรียกพลอยน้ำเงินว่าไพลินนะครับแต่เราเรียกมันว่านิลกาฬซึ่งเป็นพลอยหนึ่งในพลอยนพเก้านะครับเราจะเห็นว่าในกลอนพลอยนพเก้าเนี่ยจะมีอยู่หนึ่งท่อนที่บอกว่า”สีหมอกเมฆนิลกาฬ”นั่นแหละครับเขากำลังพูดถึง Blue sapphire หรือพลอยน้ำเงินนี่เอง 

พลอยไพลินนะครับจัดอยู่ในกลุ่มแร่คอรันดัม (Corundum) นะครับซึ่งในคอรันดั้มเนี่ยจะประกอบด้วยพลอย 2 ชนิดก็คือ Sapphire กับ Ruby หรือไพลินกับทับทิมนั่นเองครับ ซึ่งพลอยในตระกูล Sapphire ถือว่ามีความแข็งมากที่สุดที่เราเรียกกันว่าพลอยเนื้อแข็งเนื่องจากมีความแข็งตามอันดับของโมสเกล (MOH Scale) เนี่ยอยู่ที่ 9 หรือเป็นรองแค่เพชรเท่านั้นเองครับดังนั้นจึงเป็นอัญมณีที่เหมาะกับการสวมใส่ทุกวันเนื่องจากมีความแข็งแรงทนทานต่อรอยขูดขีด 

 

การเลือกซื้อไพลินเราต้องดูหลักๆอะไรบ้าง

1  Color หรือสี

 Clarity หรือความสะอาดของพลอย

3  Carat หรือน้ำหนักของพลอย

4  Cutting หรือการเจียระไน

 และสำหรับพลอยนั้นยังมีตัวแปรอีกสองตัวที่ทำให้ราคาพลอยนั้นสูงหรือต่ำลงครับนั่นก็คือ  Origin และ Treatment หรือแหล่งกำเนิดของพลอยและการปรับปรุงคุณภาพพลอยครับ


1 Color 

สีของพลอยน้ำเงินนั้นควรจะเป็นสีน้ำเงินสว่างสวยหรือน้ำเงินอมม่วงครับไม่ติดสีเขียวหรือออกโทนเทาจนเห็นได้ชัดในการระบุสีพลอยน้ำเงินนั้นเราจะดูตามความเข้มของโทนสีน้ำเงินครับแล้วก็โทนสีม่วงเป็นหลักโดยจะไล่ตั้งแต่พลอยน้ำเงินที่มีสีจืดหรือที่เราเรียกกันว่า Pastel Blue ไปจนถึงสีที่เข้มมากจนออกโทนมืดหรือเรียกว่า Dark Blue โดยสีที่นิยมซื้อขายกันในตลาดแล้วมีราคาสูงจะเป็นสี CornFlower Blue กับ Royal Blue ครับโดยสีคอนฟลาวเวอร์นั้นจะมีคุณลักษณะที่มีความสว่างมากกว่าส่วน Royal Blue จะให้สีออกโทนน้ำเงินที่เข้มแล้วก็มีความสวยเวลาออกแดดแล้วสีจะไม่จืดดูเด่นสะดุดตา

2 Clarity

 ความสะอาดของเนื้อพลอยที่ถือว่าความสะอาดดีจะต้องไม่มีตำหนิที่เห็นได้ชัดด้วยตาเปล่าอยู่ตรงกลางหน้ากระดานหรืออยู่ในจุดที่เห็นจนสะดุดตาและที่สำคัญต้องไม่มีรอยแตกร้าวภายในเนื้อพลอยเพราะจะส่งผลโดยตรงกับความแข็งแรงของพลอยเม็ดนั้นโดยการดูตำหนินนั้นนอกจากมองด้วยตาเปล่าเพื่อคัดกรองเบื้องต้นแล้วเราจะใช้กล้องดูพลอยที่มีกำลังขยายขนาด 10 เท่าเพื่อมองหารอยตำหนิที่มีโอกาสจะส่งผลต่อคุณภาพของพลอยเช่นรอยแตกในเนื้อพลอยเป็นต้น

3 Carat

น้ำหนักของเม็ดพลอยที่ขายได้ราคาส่วนมากจะมีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 1 กะรัตแต่พลอยที่น้ำหนักต่ำ 1 กะรัตแต่ทำราคาได้ดีก็มีเช่นกันหากพลอยเม็ดนั้นเนื้อสวยสีดีก็อาจมีราคาแพงกว่าพลอย 1 กะรัตที่เนื้อไม่สวยสีไม่ดี ก็เป็นไปได้เช่นกัน

4 Cutting

สำหรับคุณภาพการเจียระไนของพลอยนั้นดูแบบง่ายๆหลักๆได้อยู่ 3 อย่างคือหน้าพลอยขอบพลอยและก้นพลอย

หน้ากระดานมันต้องมีขนาดที่ไม่เล็กหรือไม่ใหญ่จนเกินไปหักเล็กเกินไปจะทำให้ไฟสะท้อนออกมาไม่เต็มที่หากใหญ่เกินไปจะทำให้เกิดช่องว่างเหมือนเป็นหลุมที่แสงไม่สะท้อนออกมาทำให้ดูลักษณะเหมือนเป็นช่องโบ๋ๆ 

ขอบพลอยหากขอบลอยบางจนเกินไปอาจทำให้เกิดพลอยบิ่นเมื่อนำไปฝังลงตัวเรือนได้พลอยหนาจนเกินไปจะทำให้พลอยนั้นเล่นไฟได้ไม่ดีเท่าที่ควรและที่สำคัญยังเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้ตัวพลอยเกินความจำเป็นและเกินความสวยงามอีกด้วย

ก้นพลอยต้องไม่ตื้นจนเกินไปหรือลึกจนเกินไปเนื่องจากถ้าก้นพลอยตื้นเกินไปจะทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า Windows หรือเกิดจากการที่แสงส่องแล้วทะลุลงไปไม่สะท้อนกลับมาที่หน้าพลอย หากก้นพลอยหนาเกินไปจะทำให้เกิดจุดมืดหรือ extinction เกิดจากการที่แสงเมื่อเข้าไปในตัวพลอยแล้วหักเหออกด้านข้างไม่สะท้อนกลับมาที่หน้ากระดานและอีก 1 จุดที่ก้นของพลอยหรือที่เรียกกันว่า culet  ควรจะเป็นมุมยอดที่ปลายบรรจบกันพอดีไม่ควรเป็นป้านหรือเป็นพื้นที่เรียบตรงก้นพลอย ปล. จะมีการเจียระไน 1 แบบที่เราไม่สามารถใช้หลักในการดูการเจียระไนในรูปแบบที่กล่าวไปได้ คือการเจียระไนแบบหลังเบี้ยหรือหลังเต่าหรือที่เราเรียกกันว่าคาโบชอน (Cabochon)



แหล่งที่มาของพลอย (origin)

ปัจจัยนี้มีส่วนเป็นอย่างมากในการกำหนดราคาพลอยของแต่ละเม็ดเนื่องจาก Origin ที่แตกต่างกันจะมีราคาต่างกันไปด้วยเช่นไพลินของเขมรของแคชเมียร์บ่อเก่าของพม่าและศรีลังกาหรือที่เราเรียกว่าพลอยซีลอนจะมีราคาสูงกว่าไพลินที่มาจากแอฟริกาอย่างมาดากัสการ์หรืออินเดียหรือออสเตรเลียและเวียดนามเป็นต้น พลอยแม้จะมาจากแหล่ง Origin ที่มีชื่อแต่หากตัวพลอยไม่มีความสวยงาม Origin ก็ไม่ช่วยอะไรเรื่องราคา


การปรับปรุงคุณภาพพลอย

อย่างสุดท้ายคือการปรับปรุงคุณภาพพลอยซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ซื้อทั่วไปนั้นสังเกตได้ยากมากแม้แต่พ่อค้าพลอยหลายคนก็ไม่สามารถชี้ขาดเรื่องของการปรับปรุงคุณภาพในบางชนิดได้เพราะในพลอยบางเม็ดไม่มีจุดชี้ชัดที่ชัดเจนในเรื่องของการปรับปรุงคุณภาพโดยเฉพาะหากมีการวอร์มที่อุณหภูมิต่ำกว่า 700 องศาแต่ผลของการปรับปรุงคุณภาพพลอยเหล่านี้เป็นสิ่งที่ยอมรับได้ในวงการค้าอัญมณีทั่วโลกซึ่งผู้ขายต้องแจ้งผู้ซื้อตามตรงเช่นพลอยเม็ดนี้เป็นพลอยดิบหรือพลอยเผาหรือเผา Be หรือ Diffusion  ซึ่งหากลูกค้าไม่มั่นใจสามารถให้ทางผู้ขายออกใบรับรองจากสถาบันรับรองอัญมณีที่มีคุณภาพเพื่อความสบายใจของผู้ซื้อและผู้ขายได้ซึ่งในกระบวนการทั้งหมดพลอยดิบจะเป็นพลอยที่มีราคาสูงที่สุดดังนั้นในการตรวจสอบอัญมณีเบื้องต้นที่ราคาไม่สูงมากส่วนมากในใบจะระบุมาว่ามีการเผาหรือไม่มีการเผาโดยจะเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า indication of heating หรือ No indication of heating  เป็นต้น

เป็นยังไงกันบ้างครับกับ Content เรื่องของการเลือกซื้อพลอยไพลินอาจจะดูรายละเอียดเยอะแต่หากมาลองดูลองซื้อกันจริงๆแล้วไม่ยากอย่างที่คิดครับเพราะพลอยที่สวยเรามองปุ๊บเราจะรู้เลยว่ามันสวยไม่ต้องคิดเยอะ

หากใครมีคำถามเรื่องพลอยหรือสนใจอยากจะซื้อพลอยหรือทำตัวเรือนหรือซื้อตัวเรือนสามารถติดต่อเข้ามาได้ที่


IG : Gemsbak.bkk

Line: @Gemsbank.bkk

สินค้าที่เกี่ยวข้อง