อัญมณีทับทิม หรือ Ruby เป็นคํามาจากภาษาละตินว่า RUBEUS หมายถึง สีแดง ในภาษาไทยมีชื่อหลายอย่าง เช่น มณีแดง และปัทมราช ชาวอินเดียเรียกพลอยชนิดนี้ว่ารัตนราช มีความหมายว่า ราชาแห่งพลอย
ทับทิมพม่ามีโครเมียมมากทําให้สีสดกว่า ในขณะที่ ทับทิมไทยมีเหล็กมากจึงมีสีคล้ํากว่า
ราชาแห่งเพชรพลอย
“กินบ่เซี่ยง” เป็นอีกชื่อหนึ่งที่คนไทยภาคเหนือ เอกทับทิมที่มีลักษณะพิเศษ คือเนื้อในสีแดงสด
กับสีขาวครึ่งต่อครึ่ง มีรุ้งอยู่ตรงกลางถือเป็น พลอยนําโชค ความหมายของ “กินบ่เซียง” คือกินไม่หมดสักที
“ทับทิมสาแหรก” หมายถึงทับทิมที่มีสตาร์ หรือ ตาแหรก ส่วนใหญ่มี 6 ขา นิยมเจียระไนเป็นรูปหลัง เบี้ย เพื่อได้เห็นสตาร์ หรือสาแหรกชัดเจน
ความแตกต่าง จะเห็นได้ชัดว่า ระหว่างทับทิม พม่าและทับทิมไทย ทับทิมพม่า มีโครเมียมมาก ทําให้ มีสีสดกว่า ในขณะที่ทับทิมไทย มีเหล็กมาก จึงมีสีคล้ำกว่า
ทรวดทรงการเจียระไน
ทับทิมโดยปกติทั่วไป ถ้าเป็นทับทิมที่มีคุณภาพ มักจะเจียเหลี่ยม (Facet) เป็นแบบผสม คือด้านบน เป็นแบบเหลี่ยมเกสร (Brilliant Cut) ด้านหลังเป็น แบบขั้นบันได (Step Cut) ส่วนรูปร่างนั้น สุดแล้ว แต่พลอยก้อนที่ได้มา ช่างเจียระไนพยายามรักษาน้ํา หนักไว้ให้มากกว่าที่สุด ที่นิยมมักเป็นรูปไข่ รูปกลม รูปมาคีส์ รูปหยดน้ํา รูปหัวใจ และรูปสี่เหลี่ยม
สําหรับพลอยที่มีคุณภาพต่ํามีตําหนิหรือรอย แตกมาก ไม่โปร่งใส และพวกพลอยสาแหรก มักจะ นํามาเจียระไนแบบหลังเบี้ยหรือหลังต่ํา (Cabochon) สีสันเนื้อในมีเฉดสี ตั้งแต่แดงสด แดงม่วง แดงส้ม แดงน้ําตาล ซึ่งมีหลายระดับจากสีอ่อนไปหาสีเข้ม ความสดใสของสีจะขึ้นอยู่กับปริมาณของโครเมียม และ เหล็กที่ไปทําปฏิกิริยาต่อแสงซึ่งกระทบเพราะโครเมียม ทําให้ทับทิมสีสด ส่วนเหล็กนั้นจะทําให้ทับทิมมีสีคล้ํา
แหล่งของทับทิม
พม่า ขุดที่เมืองโมกก ถือเป็นทับทิมที่ดีที่สุด ทับทิมพม่ามักออกสีแดงอมชมพู คุณภาพดี หายาก สีที่ดีที่สุด คือ สีแดงเลือดนก ซึ่งถือเป็นทับทิมคุณภาพ เยี่ยม
ไทย ได้ชื่อว่าเป็นตลาดใหญ่ที่สุดในโลก เพราะ ผลิตได้มากถึง 75% ของโลก แหล่งขุดพบคือ แถว จันทบุรี และตราด ส่วนใหญ่สีแดงแกมม่วง แดงดํา และแดงแกมน้ําตาล
อัฟกานิสถาน จากเมือง JAGDALEK ใกล้ กรุงคาบูล จัดได้ว่าเป็นทับทิมคุณภาพดี แต่เนื่องจาก ปัญหาทางการเมืองทําให้ทับทิมเข้าสู่ตลาดน้อย
นอกจากนี้ก็มีปรากฏในประเทศศรีลังกา มี ลักษณะเป็นสีอ่อน แถบแอฟริกา เคนยา และแทนซา เนีย จะเป็นทับทิมที่มีตําหนิมากในสหรัฐพลแถบแค โรไรนา ออสเตรเลีย และอินเดีย พบทับทิมที่มีคุณภาพ ต่ําและอีกเล็กน้อยแถบโคลัมเบีย เนปาล และปากีสถาน
ด้วยเหตุที่ทับทิมแท้หายาก จึงมีราคาแพง ใน ขณะที่ความต้องการของตลาดมีมาก จึงทําให้เกิด การสังเคราะห์ทับทิมขึ้นมาเพื่อหลอกขาย ผู้ซื้อจึง ควรระมัดระวังในการซื้อเป็นอย่างมาก
ทับทิมแท้กับทับทิมสังเคราะห์
ทับทิมสังเคราะห์มีหลายชนิด ขึ้นอยู่กับวิธีการ ทําขึ้นมาได้แก่
- วิธี Flame Fushion แยกได้ง่ายโดยสังเกต จากรอยตําหนิภายใน (Inclusion) ถ้าเป็นทับทิม เนื้อแท้ จะพบตําหนิรูปผลึก Fingerprint และตําหนิ ของเหลวอยู่ภายในถ้าเป็นทับทิมสังเคราะห์แบบ นี้ ภายในจะพบฟองอากาศ หรือเส้นโค้ง ดูด้วยตาเปล่า จะเห็นสีสดสวยเกินกว่าทับทิมปกติ ทํามานานราวต้นศตวรรษที่20
- วิธี Pulling Method วิธีนี้ได้ทับทิมสังเคราะห์ คล้ายแบบแรก แต่สะอาดมากกว่า สีอ่อนกว่า จนบาง เม็ดคล้ายซัพไฟร์สีชมพู
- วิธี Flux Fusion วิธีนี้ ควรให้ห้องแล็บ ทดสอบ เพราะมักมีรอยตําหนิภายใน คล้ายกับที่มีใน ของจริงมาก
ทับทิมปะ
นอกจากทับทิมสังเคราะห์ทั้ง 3 ประเภทนี้แล้ว. ทับทิมปะ 2 ชั้น ก็เป็นสิ่งที่ควรระวัง ปะ ก็หมายถึง เอาพลอยแท้ปะด้านหน้าไว้เพียงบางพอหลอก ตา หากมองจากด้านบน ส่วนกันพลอยก็ใช้พลอย สังเคราะห์เข้าตําราปากหวานก้นเปรี้ยวไงล่ะ
ทับทิมเผา
เอ๊ะ! เผาทําไม? การเผาทับทิมนั้นทําเพื่อให้ สีสันดีขึ้น และโปร่งใสจับตา จะเผาเพื่อเพิ่ม หรือ ลบสตาร์ สาแหรกก็ได้ อยู่ที่การควบคุมอุณหภูมิและ ความร้อนในการเผา สิ่งที่ได้จากการเผาจะอยู่คงนาน ไม่มีการเปลี่ยนแปลง (นี่พูดถึงการเผาทับทิมเท่านั้นนะ อย่าลองเผาตัวเองล่ะ) ส่วนใหญ่จะเผาเพื่อไล่สีม่วง นิดน้ําตาลหน่อย เพื่อให้ได้สีแดงจริงๆนอกจากการเผาแล้ว ยังมีการย้อมสี หรือการชุบน้ํามัน เพื่อช่วยอุดรอย แตกและรอยตําหนิ มักใช้กับทับทิมที่มีคุณภาพต่ํา
การปรับปรุงคุณภาพพลอย
การปรับปรุงคุณภาพพลอยหรือการเผาพลอยนั้นมีหลากหลายแบบโดยส่วนมากนั้นถูกพัฒนาขึ้นจาก จ.จันทบุรีบ้านเรานี้เองโดยมีทั้งแบบที่ให้ผลถาวรและแบบไม่ถาวรโดยแบ่งได้หลักๆคือแบบใช้ความร้อนและไม่ใช้ความร้อน
การปรับปรุงคุณภาพพลอยโดยไม่ผ่านความร้อน
- Oil/Resin Filled คือการแช่พลอยในน้ำมันหรือเรซิ่นเพื่อให้ของเหลวแทรกเข้าไปตามรอยแตกเพื่อให้พลอยดูสวย โดยมากใช้ในพลอยก้อน
- Irradiation การฉายรังสี วิธีนี้เป็นการฉายรังสีเพื่อทำให้พลอยที่ไม่มีสี มีสีขึ้นมา กรรมวิธีนี้เป็นกรรมวิธีที่ไม่ถาวรและสีจะค่อยๆจางลงหากโดนความร้อนและไม่กลับคืนเป็นเหมือนเดิม
- การย้อมสีพลอย เป็นการย้อมสีภายนอกพลอยภายนอกผิวพลอย
การปรับปรุงคุณภาพพลอยโดยผ่านความร้อน
- การเผาโดยใช้ความร้อน เป็นการปรับปรุงคุณภาพโดยใช้แค่ความร้อนโดยอาจใช้อุณหภูมิต่ำตั้งแต่700องศาจนถึง1600องศาแล้วแต่ชนิดของพลอย
- การเผาโดยใช้ความร้อนและแรงดัน เหมือนการเผาพลอยโดยความร้อนแต่มีการเพิ่มแรงดันเข้าไป
- Diffusion เผาดิฟฟิวส์ เป็นการเผาใส่สีไปในพลอย วิธีนี้จะแตกต้างกับการย้อมเพราะสีจะซ่านเข้าไปในเนื้อพลอย โดยเทคนิคนี้สามารถทำในพลอยหลังเบี้ยให้เกิดสตาร์ได้ด้วย
- Glass filled หรือที่เราเรียกว่าเผาใหม่ เป็นการเผาโดยเติมปรอทเข้าไปในเนื้อพลอยเพื่อลบรอยแตกในเนื้อพลอย
- Cobalt เป็นการเผาโดยการเติมโคบอลท์เข้าไปในเนื้อพลอยเหมือนGlass filled
พลอยแดงที่มักสับสนกับทับทิม
สิ่งหนึ่งที่ผู้ซื้อทับทิมควรทราบก็คือ มีพลอยสี แดงที่เป็นพลอยธรรมชาติอีกหลายชนิดที่มีสีใกล้ เคียงกับทับทิม ที่ควรระวังมากก็คือ สปิแนล (SPINEL) มีสีคล้ายทับทิมมาก จนยากที่จะแยกความแตกต่าง เช่น เม็ดที่อยู่ที่มงกุฎ ของกษัตริย์อังกฤษก เป็น SPINEL คนไทยเรียกพลอย “พลอยเนื้ออ่อน” เนื่องจากมีความแข็ง 8) ส่วนราคาก็ถูกกว่าทับทิมกว่าครึ่ง แต่ เป็นพลอยที่มีราคาแพงเช่นกัน เพียงแต่เตือนไว้ว่า อย่าซื้อในราคาเดียวกับทับทิม เพราะพ่อค้าบางคน บอกกับท่านว่า “เป็นทับทิมบ่อใหม่” ก็ได้
การประเมินคุณภาพและราคาของ ทับทิม
เช่นเดียวกับพลอยชนิดอื่น สีอัตราการผ่านแสง รูปร่าง ความสะอาดภายใน และน้ําหนักกะรัตก็เป็น ส่วนประกอบสําคัญในการประเมินคุณภาพของทับทิม
- สี
ทับทิมที่ถือว่าดีที่สุดคือ สีแดงสดดุจสีเลือดนกพิราบ (Pigeon blood) ถ้ามีสีอื่นปนเช่น ติดม่วง ติด น้ําตาล ติดส้ม ถือว่าคุณภาพลดลง ความเข้มของสีที่ ดี คือเข้มปานกลางค่อนข้างสูง
- อัตราการผ่านแสง
ทับทิมที่มีความโปร่งใสสูง ราคาแพงกว่าพวกทึบแสง
- ความสะอาดภายใน
ทับทิมที่มีรอยตําหนิและอยู่ในตําแหน่งที่เห็น ไม่ชัดจะราคาแพง แต่ถ้าไร้รอยตําหนิก็ควรระวังจะ เป็นของสังเคราะห์ ส่วนตําหนิรอยแตก รอยร้าว ทําให้ ทับทิมราคาตก
- รูปร่าง
ความสมมาตรในการเจียระไน พลอยบางเม็ดน้ำหนักเยอะแต่หน้ากระดานเล็กเกิดจากการที่ช่างต้องการเก็บน้ำหนักพลอยจึงทำก้นพลอยลึกทำให้ไฟพลอยหักเหไม่ขึ้นหน้ากระดาน กลายเป็นเสียไฟสวยๆไป
- น้ําหนักกะรัต
ขนาดใหญ่กว่าย่อมมีราคาต่อกะรัตแพงกว่า ทับทิมขนาด 1 กะรัต อาจมีราคาตั้งแต่กะรัตละ 500บาทจนถึงกะรัตละหลายแสนบาท แต่ถ้าเป็นทับทิมที่ถือว่าคุณภาพดีใช้ได้ ราคาต่อกะรัตอาจตกราว 50,000 บาทขึ้นไป และราคาตลาดของทับทิมพม่าจะแพง กว่าทับทิมไทยมาก อย่างไรก็ตามในการเลือกซื้อทับทิมนั้นขึ้นอยู่กับความชอบหรือรสนิย ไม่ควรจะจํากัดตัวเองอยู่กับแหล่งที่มี เกินไป สิ่งที่ท่านคิดว่า “สวย” พอใจที่จะใส่นั่นคือสิ่งที่ดีที่สุด
ทับทิมกับความเชื่อ
คนโบราณเชื่อกันว่า ทับทิมเป็นพลอยมงคล หากนํามาประดับตนแล้วจะกลายเป็นผู้พิชิตที่เปี่ยม ไปด้วยบารมีทุกประการ ทับทิมเป็นตัวแทนของกิเลส อํานาจ สงคราม และความรู้สึกนึกคิดในเชิงทะเยอ ทะยาน ถือเป็นรางวัลสูงสุด และเป็นสุดที่รักของชีวิต ที่สําคัญคือ เป็นราชาแห่งอัญมณี (KING OF GEMS) รวมทั้งถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความรักอันลึกซึ้ง โดย เฉพาะสําหรับผู้ที่เป็นเจ้าของราศีกรกฎ คุณมีทับทิม เป็นอัญมณีประจําราศีของคุณ แล้วคุณทราบบ้างไหม
ล่ะว่า...
The Gleaming Ruby should adorn
All those who in July are born
For thus they' Il be exempt free
From love's doubt and anxiety
ทับทิมแดง ส่องแสงดี มีแต่โชค
ถูกโฉลก ต้อง ชะตาชาวราศีกรกฎ
หมดปัญหา ไร้ราคี
สมฤดี มีรักมั่น จนวันตาย