พลอยแท้ดูยังไง?

พลอยแท้ดูยังไง?

สวัสดีผู้รักและหลงไหลในอัญมณีทุกท่าน วันนี้ผมนาย GemsBank จะมาเล่าวิธีดูพลอยและแยกแยะพลอยแท้และไม่แท้เบื้องต้นให้ทุกท่านได้รู้กันจะได้ไม่โดนเหล่ามิจฉาชีพนำพลอยปลอมมาหลอกขายท่าน เพราะนอกจากจะเสียเงิน เสียความรู้สึกแล้วยังต้อง ”เสียรู้” ให้กับคนเหล่านี้อีกด้วย

  • วิธีแรก “ถาม” อันนี้ไม่ได้แกล้งยียวนนะครับ แต่บางร้านเขาใช้พลอยสังเคราะห์บางร้านใช้แต่พลอยแท้หากเราไม่แน่ใจถามเลยครับ อันนี้พลอยแท้ไหม อันนี้พลอยอะไร หากเขาไม่เจตนาจะโกงถ้าเขาใช้พลอยสังเคราะห์ก็อาจจะบอกเราว่า CZ ค่ะ หรือแก้วค่ะ ประมาณนี้ฉะนั้นวิธีแรกสุดเลย สอบถามครับ

  • ใช้กล้องดูพลอยหรือ Loupe กำลังขยาย 10X ครับ แต่วิธีนี้ต้องใช้ความเชี่ยวชาญพอสมควรเนื่องจากพลอยสังเคราะห์สมัยนี้มีการทำรอยในเนื้อพลอยหรือที่เราเรียกว่า Inclusion เลียนแบบพลอยธรรมชาติแต่ถ้าพลอยราคา100-200 บาทแล้วบอกว่าเป็นทับทิมแท้ 
  • ส่องกล้องปุ๊ปเนื้อเนียนกริ๊บให้คิดไว้ก่อนเลยว่ามันไม่ใช่อะนาย 

  • จุ่มน้ำ ใช่ครับน้ำเปล่าเรานี่แหละ ใส่ถ้วยแล้วเอาพลอยวางลงไปให้น้ำมิดพลอยแล้วดูลักษณะของสีที่ปรากฏเนื่องจากน้ำทำให้การหักเหแสงเปลี่ยนทำให้พลอยหลายตัวเราสามารถมองเห็นสีในพลอยได้ หากเป็พลอยแท้โดยมากโดยเฉพาะแซฟไฟร์จะเห็นความแตกต่างของสีแต่ละโซนโดยเฉพาะแถบสีของพลอยแท้นั้นจะเป็นเส้นตรงไม่โค้งได้ชัดเจนส่วนพลอยสังเคราะห์นั้นพอลงไปในน้ำปุ๊ปอาจจะเกิดอย่างใดอย่างหนึ่งเช่นสีหายไปเลยเห็นสีอยู่กระจุกเดียว หรือสีเกลี่ยกันทั่วเม็ดโดยแถบสีมีรอยโค้ง หรือหากเป็นพลอยดิฟฟิวชั่นโดยมากจะเห็นสีกระจุกอยู่ที่ขอบพลอยชัดเจนซึ่งดิฟฟิวชั่นนั้นสามารเกิดจากการนำพลอยแท้ไปทำการดิฟฟิวหรือซ่านสีได้
  • ภาพ 1 และ 2 เป็นพลอย Blue sapphire จาก Madagascar, Africa เผาเก่า
    ภาพ 3 และ 4 เป็นพลอยทับทิมสังเคราะห์

  • แล็ปอัญมณี โดยวิธีนี้จะให้ผลที่แน่นอนและเป็นที่ยอมรับมากที่สุดซึ่งบ้านเราก็มีสถาบันที่เป็นที่ยอมรับหลายสถาบันเช่น GIT GIA AIGS Lotus เป็นต้น ซึ่งแต่ละสถาบันจะมีราคาที่แตกต่างกันโดยใบตรวจแบบทั่วไปเริ่มต้นที่ประมาณ 3-500บาท แต่หากตรวจแบบฉบับเต็มที่วิเคราะห์แหล่งกำเนิดพลอยหรือที่เรียกกันว่า Origin ก็อาจจะถึงใบละหลักหมื่น แต่ไม่ใช่พลอยทุกเม็ดสามารถระบุOriginได้หากไม่มีตำหนิชี้ขาดชัดเจนทางสถาบันก็อาจไม่ใส่คอมเมนท์ยืนยันแหล่งกำเนิดพลอยให้ ซึ่งส่วนนี้เป็นเรื่องของความเชื่อใจของผู้ซื้อขายกันล้วนๆครับ
  •  

    เราพูดถึงวิธีการดูพลอยแท้เบื้องต้นกันไปแล้วคราวนี้ผมอยากจะพูดถึงสิ่งที่ไม่ควรทำบ้างเพราะเห็น ”กูรู” หลายคนชอบแนะนำวิธีแปลกๆใช่ครับมันอาจตรวจสอบได้แต่มีพลอยแท้หลายชนิดเกิดความเสียหายจากการตรวจสอบด้วยวิธีเหล่านี้ได้เช่นกัน

     

  • “โอ้เมื่อมีไฟ ๆ ๆลุกขึ้นเจิดจ้า” ครับคือใช้ไฟเผานั่นเอง พลอยธรรมชาติ เช่น Kunzite โอปอล อาจเกิดความเสียหายถาวรต่อพลอยได้หากนำไฟไปลน แล้วรับรองเลยว่าถ้าที่ลนไปมันเป็นโอปอลดำ ธรรมชาติจากบ่อ Lighting Ridge, Australia อาจต้องควักเงิน6หลักชดใช้ค่าเสียหายกันหน้ามืดก็เป็นได้
  •  

  • พลอยแท้แข็งกว่ากระจก ขูดมันเลย โอ๊ย ไปไม่เป็นเลยครับ ในค่าความแข็งของโมห์ หรือ Moh’s scale กระจกมีความแข็งที่ 5.5 - 6.5 ซึ่งแร่ Quartzนั้นแข็ง7 ส่วนพลอยแซฟไฟร์สังเคราะห์แข็ง9 นอกจากไม่ช่วยอะไรแล้วยังทำให้กระจกเป็นรอยอีกต่างหากส่วนพลอยเช่นอพาไทต์ ฟลูอออไรท์ที่มีค่าความแข็งต่ำกว่า 6 ก็ขูดกระจกไม่เข้าเข้าไปอีก ที่สำคัญพลอยแพงๆ บางเม็ดที่เจียรไนเหลี่ยมจัตุรัส หรือ Princess cut หากเอามุมไปขูดกระจกอาจทำให้เหลี่ยมบิ่นได้อีกเสียเงินเสียทองโดยใช่เหตุ เพราะฉะนั้น2วิธีนี้อย่าหาทำหากไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญจะหาว่าไม่เตือน
  •  

    เป็นยังไงกันบ้างครับกับวิธีการดูพลอยที่ทางผม แบงค์ GemsBank นำมาให้ได้อ่านกันหวังว่าทุกท่านจะได้ความรู้กันไปพอสมควร อยากได้ความรู้เรื่องพลอยและจิวเวลรี่อย่าลืมติดตามอ่านบทความของเราที่จะมีมาให้ได้อ่านกันอย่างต่อเนื่องหรือหากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม แนะนำติชม หรือทักเข้ามาคุยกันก็ยินดีครับ โดยสามารถติดต่อมาได้ตามช่องทางต่อไปนี้ครับ ส่วนวันนี้ผมนายGemsBankขอลาไปก่อนสวัสดีครับ 😁

     

    Line Official: @gemsbank.bkk

    Instagram: @Gemsbank.bkk

    Email: gemsbankbkk@gmail.com

     

    สินค้าที่เกี่ยวข้อง