This site has limited support for your browser. We recommend switching to Edge, Chrome, Safari, or Firefox.

Customized ring size all our rings will be customized just for you

วิธีเลือกซื้อไพลิน

วันนี้นะครับพบกับผมนะครับนายเจมส์แบงค์ BKK นะครับวันนี้เราจะมาพูดกันถึงเรื่องวิธีการเลือกซื้อพลอยไพลินหรือที่เราเรียกกันว่าพลอยน้ำเงินหรือ Blue Sapphire นะครับก่อนอื่นนะครับผมจะพูดถึงประวัติพลอยน้ำเงินในเมืองไทยสักเล็กน้อยเมื่อก่อนนะครับบ้านเราไม่ได้เรียกพลอยน้ำเงินว่าไพลินนะครับแต่เราเรียกมันว่านิลกาฬซึ่งเป็นพลอยหนึ่งในพลอยนพเก้านะครับเราจะเห็นว่าในกลอนพลอยนพเก้าเนี่ยจะมีอยู่หนึ่งท่อนที่บอกว่า”สีหมอกเมฆนิลกาฬ”นั่นแหละครับเขากำลังพูดถึง Blue sapphire หรือพลอยน้ำเงินนี่เอง 

พลอยไพลินนะครับจัดอยู่ในกลุ่มแร่คอรันดัม (Corundum) นะครับซึ่งในคอรันดั้มเนี่ยจะประกอบด้วยพลอย 2 ชนิดก็คือ Sapphire กับ Ruby หรือไพลินกับทับทิมนั่นเองครับ ซึ่งพลอยในตระกูล Sapphire ถือว่ามีความแข็งมากที่สุดที่เราเรียกกันว่าพลอยเนื้อแข็งเนื่องจากมีความแข็งตามอันดับของโมสเกล (MOH Scale) เนี่ยอยู่ที่ 9 หรือเป็นรองแค่เพชรเท่านั้นเองครับดังนั้นจึงเป็นอัญมณีที่เหมาะกับการสวมใส่ทุกวันเนื่องจากมีความแข็งแรงทนทานต่อรอยขูดขีด 

 

การเลือกซื้อไพลินเราต้องดูหลักๆอะไรบ้าง

1  Color หรือสีครับ

2  Clarity หรือความสะอาดของพลอยครับ

3  Carat หรือน้ำหนักของพลอย

4  Cutting หรือการเจียระไน

 และสำหรับพลอยนั้นยังมีตัวแปรอีกสองตัวที่ทำให้ราคาพลอยนั้นสูงหรือต่ำลงครับนั่นก็คือ  Origin และ Treatment หรือแหล่งกำเนิดของพลอยและการปรับปรุงคุณภาพพลอยครับ


1 Color 

สีของพลอยน้ำเงินนั้นควรจะเป็นสีน้ำเงินสว่างสวยหรือน้ำเงินอมม่วงครับไม่ติดสีเขียวหรือออกโทนเทาจนเห็นได้ชัดในการระบุสีพลอยน้ำเงินนั้นเราจะดูตามความเข้มของโทนสีน้ำเงินครับแล้วก็โทนสีม่วงเป็นหลักโดยจะไล่ตั้งแต่พลอยน้ำเงินที่มีสีจืดหรือที่เราเรียกกันว่า Pastel Blue ไปจนถึงสีที่เข้มมากจนออกโทนมืดหรือเรียกว่า Dark Blue โดยสีที่นิยมซื้อขายกันในตลาดแล้วมีราคาสูงจะเป็นสี CornFlower Blue กับ Royal Blue ครับโดยสีคอนฟลาวเวอร์นั้นจะมีคุณลักษณะที่มีความสว่างมากกว่าส่วน Royal Blue จะให้สีออกโทนน้ำเงินที่เข้มแล้วก็มีความสวยเวลาออกแดดแล้วสีจะไม่จืดดูเด่นสะดุดตา


2 Clarity

 ความสะอาดของเนื้อพลอยที่ถือว่าความสะอาดดีจะต้องไม่มีตำหนิที่เห็นได้ชัดด้วยตาเปล่าอยู่ตรงกลางหน้ากระดานหรืออยู่ในจุดที่เห็นจนสะดุดตาและที่สำคัญต้องไม่มีรอยแตกร้าวภายในเนื้อพลอยเพราะจะส่งผลโดยตรงกับความแข็งแรงของพลอยเม็ดนั้นโดยการดูตำหนินนั้นนอกจากมองด้วยตาเปล่าเพื่อคัดกรองเบื้องต้นแล้วเราจะใช้กล้องดูพลอยที่มีกำลังขยายขนาด 10 เท่าเพื่อมองหารอยตำหนิที่มีโอกาสจะส่งผลต่อคุณภาพของพลอยเช่นรอยแตกในเนื้อพลอยเป็นต้น


3 Carat

น้ำหนักของเม็ดพลอยที่ขายได้ราคาส่วนมากจะมีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 1 กะรัตแต่พลอยที่น้ำหนักต่ำ 1 กะรัตแต่ทำราคาได้ดีก็มีเช่นกันหากพลอยเม็ดนั้นเนื้อสวยสีดีก็อาจมีราคาแพงกว่าพลอย 1 กะรัตที่เนื้อไม่สวยสีไม่ดี ก็เป็นไปได้เช่นกัน


4 Cutting

สำหรับคุณภาพการเจียระไนของพลอยนั้นดูแบบง่ายๆหลักๆได้อยู่ 3 อย่างคือหน้าพลอยขอบพลอยและก้นพลอย

หน้ากระดานมันต้องมีขนาดที่ไม่เล็กหรือไม่ใหญ่จนเกินไปหักเล็กเกินไปจะทำให้ไฟสะท้อนออกมาไม่เต็มที่หากใหญ่เกินไปจะทำให้เกิดช่องว่างเหมือนเป็นหลุมที่แสงไม่สะท้อนออกมาทำให้ดูลักษณะเหมือนเป็นช่องโบ๋ๆ 

ขอบพลอยหากขอบลอยบางจนเกินไปอาจทำให้เกิดพลอยบิ่นเมื่อนำไปฝังลงตัวเรือนได้พลอยหนาจนเกินไปจะทำให้พลอยนั้นเล่นไฟได้ไม่ดีเท่าที่ควรและที่สำคัญยังเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้ตัวพลอยเกินความจำเป็นและเกินความสวยงามอีกด้วย

ก้นพลอยต้องไม่ตื้นจนเกินไปหรือลึกจนเกินไปเนื่องจากถ้าก้นพลอยตื้นเกินไปจะทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า Windows หรือเกิดจากการที่แสงส่องแล้วทะลุลงไปไม่สะท้อนกลับมาที่หน้าพลอย หากก้นพลอยหนาเกินไปจะทำให้เกิดจุดมืดหรือ extinction เกิดจากการที่แสงเมื่อเข้าไปในตัวพลอยแล้วหักเหออกด้านข้างไม่สะท้อนกลับมาที่หน้ากระดานและอีก 1 จุดที่ก้นของพลอยหรือที่เรียกกันว่า culet  ควรจะเป็นมุมยอดที่ปลายบรรจบกันพอดีไม่ควรเป็นป้านหรือเป็นพื้นที่เรียบตรงก้นพลอย ปล. จะมีการเจียระไน 1 แบบที่เราไม่สามารถใช้หลักในการดูการเจียระไนในรูปแบบที่กล่าวไปได้ คือการเจียระไนแบบหลังเบี้ยหรือหลังเต่าหรือที่เราเรียกกันว่าคาโบชอน (Cabochon)

ออริจินของพลอย

ปัจจัยนี้มีส่วนเป็นอย่างมากในการกำหนดราคาพลอยของแต่ละเม็ดเนื่องจาก Origin ที่แตกต่างกันจะมีราคาต่างกันไปด้วยเช่นไพลินของเขมรของแคชเมียร์บ่อเก่าของพม่าและศรีลังกาหรือที่เราเรียกว่าพลอยซีลอนจะมีราคาสูงกว่าไพลินที่มาจากแอฟริกาอย่างมาดากัสการ์หรืออินเดียหรือออสเตรเลียและเวียดนามเป็นต้น พลอยแม้จะมาจากแหล่ง Origin ที่มีชื่อแต่หากตัวพลอยไม่มีความสวยงาม Origin ก็ไม่ช่วยอะไรเรื่องราคา


การปรับปรุงคุณภาพพลอย

อย่างสุดท้ายคือการปรับปรุงคุณภาพพลอยซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ซื้อทั่วไปนั้นสังเกตได้ยากมากแม้แต่พ่อค้าพลอยหลายคนก็ไม่สามารถชี้ขาดเรื่องของการปรับปรุงคุณภาพในบางชนิดได้เพราะในพลอยบางเม็ดไม่มีจุดชี้ชัดที่ชัดเจนในเรื่องของการปรับปรุงคุณภาพโดยเฉพาะหากมีการวอร์มที่อุณหภูมิต่ำกว่า 700 องศาแต่ผลของการปรับปรุงคุณภาพพลอยเหล่านี้เป็นสิ่งที่ยอมรับได้ในวงการค้าอัญมณีทั่วโลกซึ่งผู้ขายต้องแจ้งผู้ซื้อตามตรงเช่นพลอยเม็ดนี้เป็นพลอยดิบหรือพลอยเผาหรือเผา Be หรือ Diffusion  ซึ่งหากลูกค้าไม่มั่นใจสามารถให้ทางผู้ขายออกใบรับรองจากสถาบันรับรองอัญมณีที่มีคุณภาพเพื่อความสบายใจของผู้ซื้อและผู้ขายได้ซึ่งในกระบวนการทั้งหมดพลอยดิบจะเป็นพลอยที่มีราคาสูงที่สุดดังนั้นในการตรวจสอบอัญมณีเบื้องต้นที่ราคาไม่สูงมากส่วนมากในใบจะระบุมาว่ามีการเผาหรือไม่มีการเผาโดยจะเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า indication of heating หรือ No indication of heating  เป็นต้น


เป็นยังไงกันบ้างครับกับ Content เรื่องของการเลือกซื้อพลอยไพลินอาจจะดูรายละเอียดเยอะแต่หากมาลองดูลองซื้อกันจริงๆแล้วไม่ยากอย่างที่คิดครับเพราะพลอยที่สวยเรามองปุ๊บเราจะรู้เลยว่ามันสวยไม่ต้องคิดเยอะ


หากใครมีคำถามเรื่องพลอยหรือสนใจอยากจะซื้อพลอยหรือทำตัวเรือนหรือซื้อตัวเรือนสามารถติดต่อเข้ามาได้ที่

IG : Gemsbak.bkk

Line: @Gemsbank.bkk

Cart

No more products available for purchase

Your cart is currently empty.